Select Page

ประวัติสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

วิทยาลัยครู

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นหน่วยงานหลัก อีกหน่วยงานหนึ่งตามโครงสร้างบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เดิมมีชื่อเดิมว่า ” ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม “

พ.ศ. ๒๕๑๘ มีประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูได้กำหนดบทบาทภาระหน้าที่ของวิทยาลัยครูไว้ข้อหนึ่งในจำนวนทั้งหมดห้าข้อให้มีหน้าที่ ” ส่งเสริมและเผยแพร่ทางวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ “

พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาวัฒนธรรม ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ ได้จัดตั้งครั้งแรก ๕๐ ศูนย์ เป็นสถานศึกษาต่างๆ คือ วิทยาลัยครูทุกสถาบัน โรงเรียนมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัย พลศึกษา และวิทยาเขตพาณิชยการ ดังนั้นวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงขณะนั้น จึงรับภาระหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี มีหน้าที่ศึกษา วิจัย อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรม ฝึกอบรมวิทยากร และบุคลากรด้านวัฒนธรรม จัดดำเนินการหอวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๒๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๒๓ และประกาศใช้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม จึงมีผลให้เกิดศูนย์วัฒน ธรรมจังหวัดราชบุรี “

พ.ศ. ๒๕๒๗ มีประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้มีการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูชัดเจนขึ้นซึ่งประกอบด้วยคณะวิชา ศูนย์ และสำนักมีฐานะเทียบเท่ากันที่ปรากฏตาม พ.ร.บ. ได้แก่ สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา ศูนย์วิจัยและบริการ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ในครั้งนี้มีผู้บริหารดำรงตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาระหน้าที่ตั้งแต่ พ.ร.บ. วิทยาลัยครู ๒๕๑๘

ได้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ของวิทยาลัยครูไว้ว่า “วิทยาลัยครูมีหน้าที่สอนและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัยส่งเสริม และวิทยฐานะครูทำนุบำรุงวัฒนธรรมและให้บริการวิชาการแก่สังคม” พ.ศ.๒๕๓๔ ได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกตำแหน่งของผู้บริหารในระดับศูนย์จากคำว่า “หัวหน้าศูนย์” เป็น “ผู้อำนวยการศูนย์”

พ.ศ. ๒๕๓๕ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วิทยาลัยครู” เป็น “สถาบันราชภัฏ” และมีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง จึงได้ยกฐานะเป็น” สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะผู้บริหารของสถาบันได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน ของสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว คำว่า “ศูนย์” จึงเปลี่ยนเป็น “สำนัก” ซึ่งมีอยู่ ๕ สำนักคือ สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมวิชาการ และสำนักศิลปวัฒนธรรม และเรียกตำแหน่งผู้บริหารในระดับสำนักว่า “ผู้อำนวยการสำนัก” ซึ่ง สำนักศิลปและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยกำหนดภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานวัฒนธรรมไว้ในคำบรรยายลักษณะงานของการแบ่งส่วนราชการ และยังคงทำหน้าที่เป็น” ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี”

หน้าที่ว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๑ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เป็นหน่วยงานปฏิบัติ และหน่วยงานประสานงานกับองค์กร และประชาชนในพื้นที่การปฏิบัติ คือ ศึกษาค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่วัฒนธรรม อธิการบดีสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นประธานศูนย์วัฒนธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี “

กิจกรรม

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ๔๖ หมู่ ๓ ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ๗๐๑๕๐

พ.จ.น.ก.

การแสดงชุด เอ้ดอกคูณ ในงานลานวัฒนธรรม พ.จ.น.ก. สัมพันธ์ ครั้งที่ ๓๗ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ไหว้ครู

พิธีไหว้ครู บูชาคุณ ดนตรี นาฏศิลป์ และศิลปะไทย

ประกวด

นักศึกษาได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ในการประกวดนางไห Contest